รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 50490000-3664

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 75

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ50490000-3664
ปี2566
ชื่อโครงการจัดระเบียบสัตว์จร แก้ปัญหาผ่านการจัดการอย่างเป็นระบบ
Policy ID30
Branch ID0000
Kpi ID5049-2033
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)0
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด75
หน่วยงานสำนักงานเขตทุ่งครุ
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผล ปี 2562 มีประชาชนร้องเรียนเหตุเกี่ยวกับสุนัขจรเฉลี่ย 4,500 ครั้ง โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ คาดการณ์ว่าสุนัขจรมีจำนวนมากถึง 160,000 ตัว อย่างไรก็ตาม จำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอกับศูนย์พักพิงของทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมซึ่งหากต้องการแก้ไขปัญหาสัตว์จรในระยะยาว กทม.ต้องดำเนินการอย่างจริงจังร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อตัดวงจรสัตว์จรและแก้ไขปัญหาในระยาวอย่างยั่งยืน ดังนั้น กทม.จะดำเนินการ 4 ด้าน ประกอบด้วย
1. จัดชุดออกปฏิบัติการทำหมันและฉีดวัคซีนเชิงรุกอย่างมียุทธศาสตร์ - ด้วยการคัดเลือกพื้นที่เร่งด่วนและจัดลำดับความสำคัญ การดำเนินการต่อเนื่องแบบพื้นที่ปิดและพื้นที่ใกล้เคียงตามกลุ่มเขต ร่วมมือกับกรมปศุสัตว์คลินิกเอกชน และคณะสัตวแพทย์ในระดับมหาวิทยาลัย ในการปูพรมดำเนินการเร่งตัดวงจรสัตว์จรให้หมดในช่วงอายุและ ไม่ขยายพันธุ์โดยธรรมชาติควบคู่กับการจัดทำฐานข้อมูลทั้งสุนัขและแมวจรให้เป็นปัจจุบันและลงรายละเอียดระดับพื้นที่แก้ไขข้อจำกัดของเจ้าหน้าที่กทม.และสัตวแพทย์ที่มีจำนวนไม่เพียงพอ
2. เปลี่ยนสุนัขจรเป็นสุนัขชุมชน - โดยขึ้นทะเบียนและติดสัญลักษณ์หลังจากมีการทำหมันฉีดวัคซีนแล้วในสัตว์จรที่ไม่ดุร้ายและมีประชาชนหรือชุมชนช่วยกันดูแลในละแวกพื้นที่ โดยเป็นไปตามความสมัครใจของชุมชนและการมีส่วนร่วมของพื้นที่
3. ปรับปรุงศูนย์พักพิงของ กทม. และกำกับดูแลศูนย์ของเอกชนให้มีมาตรฐาน - ดำเนินการต่อเนื่องต่อจากการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ขยายสู่การปรับปรุงการบริหารจัดการ การเพิ่มชุดหน่วยปฏิบัติการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องสวัสดิภาพของสัตว์จรให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ร่วมมือกับสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ภาคประชาสังคม ตลอดจนองค์กรไม่แสวงหากำไรในต่างประเทศในการควบคุมดูแลมาตรฐานศูนย์พักพิงอิสระของภาคประชาสังคม ในเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และสภาพแวดล้อมไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณข้างเคียง
4. ส่งสัตว์จรกลับสู่สถานะสัตว์เลี้ยง (Adopt Not Shop) - ผ่านการมีบ้านและเจ้าของใหม่ที่มีความพร้อม ด้วยขั้นตอนการสมัคร การสัมภาษณ์ตลอดจนการดูความพร้อมของเจ้าของ เช่น อาชีพการงาน และลักษณะที่อยู่อาศัยที่มีความเหมาะสมกับสายพันธุ์รูปแบบการดำเนินงานผ่านการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางของ กทม. ตลอดจน การจัดกิจกรรมส่งเสริมต่างๆ (อีเวนต์) ร่วมกับภาคประชาสังคมและภาคเอกชน
วัตถุประสงค์- กรุงเทพฯ จะมีหมาแมวจรลดน้อยลงหลังจากนโยบายทำหมันอย่างจริงจัง หลังจากสัตว์จรจะหมดช่วงอายุขัยตามธรรมชาติเฉลี่ยประมาณ 10-15 ปี
- หน่วยงาน กทม.จะมีศูนย์พักพิงฯ ที่สามารถดำเนินการรองรับสัตว์จรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการดำเนินงานล่าช้าจากการร้องเรียนเหตุในพื้นที่
- คนกรุงเทพฯ สามารถรับเลี้ยงสัตว์ใหม่จากสัตว์จรในศูนย์พักพิงของ กทม. และศูนย์พักพิงเครือข่ายที่ผ่านเกณฑ์และมีความพร้อมที่เหมาะสม โดยมีสตวั ์ที่มีสุขภาพดีแข็งแรงไม่มโรค
เป้าหมายประสานสำนักอนามัยออกหน่วยทำหมัน 6 ครั้ง
ผู้รับผิดชอบฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ผู้ตรวจประเมิน
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ75 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 175
ผลงานเดือนที่ 175
ผลงานเดือนที่ 275
ผลงานเดือนที่ 375
ผลงานเดือนที่ 175
ผลงานเดือนที่ 475
ผลงานเดือนที่ 575
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2023-01-31 60.0 1 ไม่มี 31/01/2566 : กำลังดำเนินการมอบหมายภาระงานให้แก่พนักงานในสังกัดสำนักงานเขต
2023-02-21 65.0 1 - ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์การออกหน่วยรณรงค์ทำหมัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงจากสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย
2023-03-20 70.0 1 - 20/03/2566 : จัดทำหนังสือขอความร่วมมือจากสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย ลงพื้นที่ทำหมัน ฉีดวัคซีน
2023-05-02 70.0 1 อยู่ระหว่างจัดการเลือกตั้ง งดกิจกรรมชุมชน 02/05/2566 : จัดทำหนังสือไปยังสำนักอนามัย