รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 50430000-3325

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 70

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ50430000-3325
ปี2566
ชื่อโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย
Policy ID(ไม่ได้ตั้ง)
Branch ID(ไม่ได้ตั้ง)
Kpi ID5043-855
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)82,800
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด70
หน่วยงานสำนักงานเขตคันนายาว
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ฉบับปรับปรุง กำหนด
วิสัยทัศน์ให้กรุงเทพมหานครเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” โดยการดำเนินการตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570) ในยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 1.5 เมืองสุขภาพที่ (Healthy City) ให้ความสำคัญกับการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองอาหารปลอดภัย ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหารและการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการอาหาร เพื่อให้ประชาชนบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20ปี
(พ.ศ. 2561-2580) ที่กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ครอบคลุมความรอบรู้ด้านสุขภาพ การควบคุมและป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามต่อสุขภาพ การสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี
สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในรอบ 5 ปีล่าสุด (ปี พ.ศ. 2559 – 2563) พบว่าอัตราการป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ 89.84, 91.40, 128.72, 116.46 และ 84.52 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2559-2561 และลดลงในปี พ.ศ. 2562 บ่งชี้ว่ากรุงเทพมหานครยังคงเผชิญกับสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร ทั้งนี้ เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์รวมของวัตถุดิบอาหาร เป็นแหล่งกระจายสินค้า วัตถุดิบอาหารส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากต่างจังหวัด และต่างประเทศ ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร อีกทั้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจและสังคม และการขยายตัวของเขตเมือง อัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดสถานประกอบการอาหารเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่มีผลมาจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในผู้ประกอบการรายย่อย โดยมีจำนวนสถานประกอบการอาหารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 20,166 ราย (ข้อมูล 30 กันยายน 2564) อีกทั้งยังส่งผลให้รูปแบบการประกอบธุรกิจด้านอาหารมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตคนเมืองที่มีแต่ความเร่งรีบต้องการการบริการที่มีความสะดวกสบาย เช่น การเพิ่มจำนวนของธุรกิจจำหน่ายอาหารแบบออลไลน์และบริการส่งถึงที่ (Ready-to-Eat Food Delivery) การจำหน่ายอาหารในลักษณะของ Food Truck รถเร่ขายอาหารแบบให้บริการเข้าถึงชุมชน ประกอบกับการเคลื่อนย้ายและเพิ่มจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ขาดความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการด้านอาหาร สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสุขลักษณะและความปลอดภัยของอาหาร และจากการเจริญเติบโตของธุรกิจอาหารที่มีเป็นจำนวนมากนั้น หากขาดการบริหารจัดการที่ดี และระบบตรวจสอบควบคุมกำกับของเจ้าหน้าที่ภาครัฐขาดประสิทธิภาพไม่สามารถควบคุมกำกับให้สถานประกอบการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ อาจส่งผลกระทบต่อสภาวะการเป็นอยู่โดยปกติสุขของประชาชนได้ เช่น เกิดเหตุเดือนร้อนรำคาญจากการประกอบกิจการอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น เสียง ความร้อน การระบายน้ำเสีย หรือฝุ่นละออง นอกจากนี้ยังพบว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ และในพื้นที่กรุงเทพมหานครพบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก โดยสถานประกอบการจำหน่ายอาหาร ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท และแผงลอยจำหน่ายอาหาริมบาทวิถี เป็นสถานที่ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีความจำเป็นต้องเข้าไปใช้บริการ และอาจก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ได้ หากสถานประกอบการอาหารดังกล่าวไม่มีการปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันโรคตามที่ทางภาครัฐกำหนด
สำนักงานเขตคันนายาว ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยให้มีความต่อเนื่อง รวมทั้งให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตื่นตัว ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งควบคุม กำกับสถานประกอบการให้เป็นไปตามมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(โควิด 19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งในด้านการได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และได้รับการป้องกันการเกิดโรคติดต่อในสถานประกอบการอาหาร อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ ประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครด้วย
วัตถุประสงค์2.1 เพื่อปรับปรุง พัฒนา ยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหาร ทั้งด้านสุขลักษณะด้านความปลอดภัยอาหาร และการป้องกันโรคอุบัติใหม่ ในพื้นที่เขตคันนายาว
เป้าหมายสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตคันนายาว เช่น สถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร (มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต) และตลาด เป็นต้น
ผู้รับผิดชอบนางสาวปณิดา ทองคำแท้
ผู้ตรวจประเมินนายประวัช วงษ์ทองดี โทร. 1513
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ70 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 170
ผลงานเดือนที่ 170
ผลงานเดือนที่ 270
ผลงานเดือนที่ 370
ผลงานเดือนที่ 170
ผลงานเดือนที่ 470
ผลงานเดือนที่ 570
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-29 20.0 1 - 29/12/2565 :จัดทำโครงการ และแผนปฏิบัติงาน
2023-01-23 25.0 1 ไม่มี 23/01/2566 : กำลังดำเนินการตรวจด้านสุขลักษณะ และคุณภาพอาหารในสถานประกอบการพื้นที่เขตคันนายาวแล้ว จำนวน 63 แห่ง และได้ทำการเบิกจ่ายไปแล้ว10,000 บาท
2023-02-23 30.0 1 ไม่มี 23/02/2566 : ดำเนินการตรวจด้านสุขลักษณะและคุณภาพอาหารในสถานประกอบการในพื้นที่เขตคันนายาวแล้วจำนวน 84 แห่ง และได้ทำการเบิกจ่ายไปแล้ว 23,600 บาท
2023-03-21 40.0 1 ไม่มี 21/03/2566 : ดำเนินการตรวจด้านสุขลักษณะและคุณภาพอาหารในพื้นที่เขตคันนายาว จำนวน 143 แห่ง จากทั้งหมด 388 แห่ง และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว
2023-04-24 0.0 0 ไม่มี
2023-04-25 60.0 1 ไม่มี 25/04/2566 : ดำเนินการตรวจด้านสุขลักษณะและคุณภาพอาหารในพื้นที่เขตคันนายาว จำนวน 184 แห่ง จากทั้งหมด 391 แห่ง และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว
2023-05-22 70.0 1 ไม่มี 22/05/2566 : ดำเนินการตรวจด้านสุขลักษณะและคุณภาพอาหารในพื้นที่เขตคันนายาว จำนวน 203 แห่ง จากทั้งหมด 391 แห่ง และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว