รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 50160000-3338

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 50

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ50160000-3338
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการค่าใช้จ่ายในการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Policy ID(ไม่ได้ตั้ง)
Branch ID(ไม่ได้ตั้ง)
Kpi ID5016-6522
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)141,200
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)69,600
คืบหน้าล่าสุด50
หน่วยงานสำนักงานเขตธนบุรี
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลโรคไข้เลือดออกเป็น 1 ใน 5 ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานครในปี 2563 (5 มกราคม 2563 – 2 มกราคม 2564) พบว่าผู้ป่วยสะสมจำนวน 6,277 ราย อัตราป่วย 110.78 ต่อประชากรแสนคน โดยจำนวนผู้ป่วยที่พบมากที่สุดเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 5 – 14 ปี รองลงมา ได้แก่ กลุ่มอายุ 15 – 34 ปี และ 0 - 4 ปี ตามลำดับ ซึ่งอัตราป่วยอยู่ในระดับสูงและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในลำดับต้นๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในด้านการเจ็บป่วย เสียชีวิต สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม ซึ่งโรคไข้เลือดออกมีปัจจัยสนับสนุนมาจากความหนาแน่น แออัด วิถีชีวิต และการเคลื่อนย้ายของประชากร ทำให้ไม่สามารถจัดการกับภาชนะแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ตามเป้าหมาย การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน โดยให้ความสำคัญกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนยุงลายพาหะนำโรคซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันควบคุมโรค ดังนั้น การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายโดยเฉพาะการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายในพื้นที่จึงมีความสำคัญ และสอดคล้องกับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ได้มีการรับรองมติ “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาเรื่องไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน เริ่มจากในครัวเรือน ชุมชน หน่วยงาน ทำทุกคน ทำทุกที่ จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วน ทั้งเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ องค์กร ชุมชน สังคม ครอบครัวและบุคคล โดยนำแนวทางการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated Vector Management) มาบริหารจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ผู้บริหารองค์กร และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและประสานความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครขึ้น โดยขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม และส่งเสริม พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีการดำเนินการด้านควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์1.เพื่อเสริมสร้างระบบกลไกในการดำเนินงานด้านการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ
2.เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทุกระดับ ให้เกิดความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง
3.เพื่อให้พื้นที่เป้าหมายในเขตธนบุรีเป็นพื้นที่ปลอดลูกน้ำยุงลายตามเกณฑ์ที่กำหนด
เป้าหมาย1. สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
2. ชุมชนมีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
3. ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนที่จดทะเบียนของเขตธนบุรี จำนวน 43 ชุมชน ให้มีค่า HI อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
ผู้รับผิดชอบฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ผู้ตรวจประเมินนายนิธิพงศ์ อภัย เบอร์โทร 1546 กยม.
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ50 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 150
ผลงานเดือนที่ 150
ผลงานเดือนที่ 250
ผลงานเดือนที่ 350
ผลงานเดือนที่ 150
ผลงานเดือนที่ 450
ผลงานเดือนที่ 550
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-31 10.0 1 ไม่มี 31/12/2565 : " - ลงพื้นที่รณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตธนบุรี ในชุมชนในพื้นที่เขตธนบุรี โดยมีการให้ความรู้ แจกสื่อประชาสัมพันธ์ แจกทรายเทมีฟอส และโลชั่นป้องกันยุง จำนวน 5 แห่ง - ลงพื้นที่ฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายทุกพื้นที่ที่มีการระบาด สถานศึกษา และชุมชน"
2023-01-25 17.0 1 ไม่มี 25/01/2566 : 1. ดำเนินกิจกรรมการป้องกัน ควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชน ที่มีดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) สูง หรือกรณีได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก จำนวน 10 ครั้ง 2. สรุปและจัดทำรายงานการดำเนินกิจกรรมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานของชุมชน จำนวน 5 ครั้ง
2023-02-22 23.0 1 ไม่มี 22/02/2566 : 1. กิจกรรมการป้องกัน ควบคุมโรคนำโดยยุงลาย จำนวน 5 ครั้ง 2. สรุปและจัดทำรายงานการดำเนินกิจกรรมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานของชุมชน จำนวน 3 ครั้ง
2023-03-23 50.0 1 ไม่มี 23/03/2566 :1. กิจกรรมการป้องกัน ควบคุมโรคนำโดยยุงลาย จำนวน 15 ครั้ง 2.สรุปและจัดทำรายงานการดำเนินกิจกรรมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานของชุมชน จำนวน 7 ครั้ง
2023-04-24 50.0 1 ไม่มี 24/04/2566 : .ดำเนินกิจกรรมการป้องกัน ควบคุมโรคนำโดยยุงลาย และเลือกชุมชนที่มีดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) สูง หรือกรณีได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก