รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 23000000-6712

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 40

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ23000000-6712
ปี2566
ชื่อโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาย่านสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์และกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Policy ID22
Branch ID0000000
Kpi ID2300-963
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)10,777,600
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด40
หน่วยงานสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลย่านสร้างสรรค์ (Creative District) คือ พื้นที่ที่ใช้ประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ และระบบนิเวศสร้างสรรค์เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของพื้นที่นั้น ๆ ถือเป็นโมเดลสำหรับปลุกเมืองเก่าซึ่งใช้กันทั่วโลก สำหรับกรุงเทพมหานครที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ “ย่านเจริญกรุง” ซึ่งเป็นถนนสายแรกที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่าร้อยปี เป็นย่านที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรมสูง มีการปลุกเมืองด้วยศิลปะ ดีไซน์ และธุรกิจสร้างสรรค์ ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย แม้ว่าในอดีตมีการพัฒนาเมืองอยู่แล้วตามนโนบายต่าง ๆ แต่อีก ๑๐ ปีข้างหน้านี้ เมืองขนาดกลางทั่วโลกมีแนวโน้มการพัฒนาและมีอัตราการเติบโตในระดับสูง โดยเปลี่ยนทิศทางความร่วมมือในรูปแบบของพัฒนาแบบทุกภาคส่วน ในยุคที่ประชาชนมีจำนวนมากขึ้น พื้นที่มีจำกัด ความแออัดของเมืองเริ่มก่อตัวขึ้นมาหลายรูปแบบ หลายเมืองทั่วโลกแก้ปัญหานี้ด้วยการพัฒนาเมืองตามโจทย์ที่ว่า“สร้างเมืองให้รู้ใจผู้อยู่” ถือเป็นโจทย์สำคัญซึ่งหลายจังหวัดในประเทศไทยได้มีการดำเนินการเรื่องนี้มาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว เมืองเป็นพื้นที่ใหญ่ต้องพัฒนาหลายมิติ หลายพื้นที่เริ่มพัฒนาจากพื้นที่เล็ก ๆ ไปจนถึงชุมชน ย่าน และเมือง พร้อมกับค้นหา อัตลักษณ์เฉพาะตัว โดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของคนในเมือง เพื่อลุกขึ้นมาฟื้นฟูย่านเศรษฐกิจเก่า
นโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาย่านสร้างสรรค์และ“ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ ๕๐ ย่าน ทั่วกรุงเทพฯ” ซึ่งแต่ละพื้นที่ แต่ละชุมชน มีเอกลักษณ์ มีความเป็นอัตลักษณ์ ที่แตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่ กระบวนการและวิสัยทัศน์ในการมอง “ทุนจากภายใน” ของชุมชนและท้องถิ่นที่มีอยู่ เพื่อนำมาต่อยอดสร้างสรรค์และสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยทุนจากภายใน ครอบคลุมทั้งทุนทางกายภาพ ทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความชำนาญเฉพาะด้าน ถือเป็นอัตลักษณ์สำคัญในการสะท้อนความเป็นตัวตนของชุมชนและท้องถิ่น เป็นตัวเชื่อมให้เกิดการมีส่วนร่วมและความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันของคนในชุมชน เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ ในการพัฒนาสังคมและชุมชนที่ยั่งยืน จึงได้กำหนดจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาย่านสร้างสรรค์กระตุ้นเศรษฐกิจกรุงเทพมหานคร จัดโดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว และสำนักงานเขต ๒๐ เขต
วัตถุประสงค์๒.๑ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทิศทาง ในการพัฒนาส่งเสริมย่านสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร ให้เป็นย่านที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ โดดเด่นและสร้างการจดจำ
๒.๒ เพื่อสร้างภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนพัฒนาส่งเสริมย่านสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร อย่างยั่งยืนต่อไป
๒.๓ เพื่อพัฒนาส่งเสริมย่านสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานครให้เป็นย่านที่มีอัตลักษณ์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนเกิดความประทับใจ กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมาย๓.๑ เกิดย่านสร้างสรรค์ในทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ทั้ง ๒๐ เขต ๆ ละ ๑ ย่าน รวมเป็น ๒๐ ย่าน
๓.๒ เกิดความร่วมมือภาคีเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนย่านสร้างสรรค์ เป็นต้น
๓.๓ กิจกรรมต้นแบบในย่านสร้างสรรค์ตามบริบทของพื้นที่
๓.๔ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจจากการจัดกิจกรรมในย่านสร้างสรรค์การท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น จำนวนผู้ค้า รายได้ของประชาชน จำนวนนักท่องเที่ยวหรือผู้ร่วมกิจกรรม เป็นต้น
ผู้รับผิดชอบนางสาวดวงพร พวงอุไร โทร. 0 2225 7615
ผู้ตรวจประเมิน
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ40 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 140
ผลงานเดือนที่ 140
ผลงานเดือนที่ 240
ผลงานเดือนที่ 340
ผลงานเดือนที่ 140
ผลงานเดือนที่ 440
ผลงานเดือนที่ 540
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-31 5.0 1 ไม่มี พ.ย. 65 ขออนุมัติเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 งวดที่ 1 เพื่อโอนงบประมาณให้สำนักงานเขต จำนวน 10 เขต เขตละ 500,000 บาท สำหรับการดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ได้แก่ เขตตลิ่งชัน เขตทุ่งครุ เขตธนบุรี เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตภาษีเจริญ เขตลาดกระบัง และเขตสัมพันธวงศ์ ธ.ค. 65 สำนักงบประมาณ กทม. อนุมัติจัดสรรงบประมาณงวดที่ 1 และโอนงบประมาณให้ 10 สำนักงานเขตเรียบร้อยแล้ว ม.ค. 66 คาดว่าจะขออนุมัติเงินจัดสรรฯ และดำเนินการโอนเงินงบประมาณไปยังอีก 10 เขต เขตละ 500,000 บาท ได้แก่ เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตบางคอแหลม เขตบางซื่อ เขตบางรัก เขตประเวศ เขตมีนบุรี เขตสวนหลวง เขตสาทร และเขตหนองจอก กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ จำนวน 6 ครั้ง ธ.ค. - ม.ค. 65 คัดเลือกสำรวจแหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ ม.ค. 65 คาดว่าจะขออนุมัติเงินจัดสรรฯ สำหรับการดำเนินกิจกรรมฯ 777,600 บาท มี.ค. 66 คาดว่าจะดำเนินกิจกรรมฯ
2023-01-31 15.0 1 ไม่มี - ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวอนุมัติการดำเนินการและอนุมัติประมาณการค่าใช้จ่ายกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ จำนวน ๖ ครั้ง รายละเอียดตามหนังสือสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ด่วนที่สุด ที่ กท ๑๒๐๗/๐๐๔๙ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๖ - สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท ๑๒๐๗/๑๑๖๓ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๖ ขออนุมัติเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งวดที่ ๑ ครั้งที่ ๔๓ จำนวน ๕,๗๗๗,๖๐๐.- บาท พร้อมขออนุมัติโอนเงินงบประมาณรายง่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้แก่ ๑๐ สำนักงานเขต ๆ ละ ๕๐๐,๐๐๐.- บาท ได้แก่ เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตบางคอแหลม เขตบางซื่อ เขตบางรัก เขตประเวศ เขตมีนบุรี เขตสวนหลวง เขตสาทร และเขตหนองจอก
2023-02-27 20.0 0 ไม่มี 27/02/2566 : จัดประชุมทิศทางการดำเนินงานฯ ครบทั้ง ๒๐ สำนักงานเขตแล้ว
2023-03-02 0.0 0 ไม่มี สำนักงานเขตทั้ง 20 เขต ได้แก่ เขตตลิ่งชัน ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร ภาษีเจริญ ลาดกระบัง สัมพันธวงศ์ คลองสาน จอมทอง บางคอแหลม บางซื่อ บางรัก ประเวศ มีนบุรี สวนหลวง สาทร และเขตหนองจอก ได้รับงบประมาณฯ เขตละ 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) รวมทั้งสิ้น 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) เรียบร้อยแล้ว
2023-03-24 5.0 1 ไม่มี 24/03/2566 - 20 เขตได้รับงบประมาณเรียบร้อยแล้ว - กำหนดให้สำนักงานเขตเสนอชื่อย่านสร้างสรรค์ที่ดำเนินการ (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2566) สรุปดังนี้ ย่านตลาดน้ำตลิ่งชัน - ตลาดน้ำสองคลองวัดตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน ย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ ย่านตลาดพลู และย่านกะดีจีน เขตธนบุรี ย่านวัดดุสิตฯ เขตบางกอกน้อย ย่านวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ ย่านนางเลิ้ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ย่านบางลำพู เขตพระนคร ย่านชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ ย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ย่านถนนสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ย่านเกาะจอมทอง เขตจอมทอง ย่านตลาดริมคลองเจริญกรุง 103 เขตบางคอแหลม ย่านถนนสายไม้ บางโพ เขตบางซื่อ ย่านวัดม่วงแค มัสยิดฮารูณ เขตบางรัก ย่านคลองประเวศบุรีรมย์ เขตประเวศ ย่านตลาดเก่าเมืองมีน เขตมีนบุรี ย่านคลองพระโขนงเก่า เขตสวนหลวง ย่านทุ่งวัดดอน เขตสาทร และย่านคลองลำไทร เขตหนองจอก - ติดตามการดำเนินการของสำนักงานเขต โดยให้สำนักงานเขตรายงานผ่าน Google Form และจากผู้ประสานงาน สรุปได้ดังนี้ 1) การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ - เขตที่อยู่ระหว่างแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ ได้แก่ เขตตลิ่งชัน บางกอกใหญ่ ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร ภาษีเจริญ ลาดกระบัง สัมพันธวงศ์ คลองสาน จอมทอง บางซื่อ บางรัก ประเวศ มีนบุรี สวนหลวง สาทร และเขตหนองจอก - เขตที่แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ เขตทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย และเขตบางคอแหลม 2) สำนักงานเขตลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม เช่น การประชุม การจัดกิจกรรมประชาคม การสำรวจแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
2023-03-31 30.0 1 ไม่มี 31/03/2566 : การดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ จำนวน 6 ครั้ง โดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว รายละเอียดความคืบหน้ามีดังนี้ 1) กำหนดแหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบสำหรับการจัดกิจกรรมฯ ได้แก่ ย่านตลาดพลู เขตธนบุรี ย่านบางลำพู เขตพระนคร ย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง และย่านถนนสายไม้ บางโพ เขตบางซื่อ ซึ่งคาดว่าจะจัดกิจกรรมฯ ในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2566 2) ประสานแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเตรียมดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง วันที่ 23 มีนาคม 2566 สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ (เขตบางกอกน้อย) ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นางธราพร อำนวยสาร ผู้อำนวยการเขตบางกอกน้อย เป็นประธานการประชุมฯ วันที่ 29 มีนาคม 2566 สำนักงานเขตทุ่งครุ มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ (เขตทุ่งครุ) ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายพงค์ศักดิ์ พูลยรัตน์ ผู้อำนวยการเขตทุ่งครุ เป็นประธานการประชุมฯ
2023-04-27 35.0 1 ไม่มี 27/04/2566 : ๑. ติดตามการดำเนินการของสำนักงานเขต โดยให้สำนักงานเขตรายงานผ่าน Google Form และจากผู้ประสานงาน สรุปได้ดังนี้ ๑) การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ - เขตที่อยู่ระหว่างแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ จำนวน ๑๓ เขต ได้แก่ เขตตลิ่งชัน บางกอกใหญ่ ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร ลาดกระบัง สัมพันธวงศ์ คลองสาน จอมทอง บางซื่อ บางรัก ประเวศ สวนหลวง และเขตสาทร - เขตที่แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ เรียบร้อยแล้ว จำนวน ๗ เขต ได้แก่ เขตทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางคอแหลม มีนบุรี หนองจอก และเขตภาษีเจริญ ๒) สำนักงานเขตได้มีการลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม มีการจัดประชุมกลุ่มย่อย การจัดกิจกรรมประชาคม การสำรวจแหล่งท่องเที่ยว การทดลองจัดกิจกรรม เป็นต้น ๒. การดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ จำนวน ๖ ครั้ง โดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว รายละเอียดความคืบหน้ามีดังนี้ ๑) ได้รับอนุมัติเปลี่ยนแปลงวันดำเนินการจัดกิจกรรมฯ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ ดังนี้ - ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ - ครั้งที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ - ครั้งที่ ๓ วันเสาร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง - ครั้งที่ ๔ วันเสาร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านถนนสายไม้ บางโพ เขตบางซื่อ - ครั้งที่ ๕ วันเสาร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านตลาดพลู เขตธนบุรี - ครั้งที่ ๖ วันเสาร์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านบางลำพู เขตพระนคร ๒) ประสานแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเตรียมดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง