รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 21000000-6584

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 50

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ21000000-6584
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการศึกษาวิจัยเพื่อถอดบทเรียนการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร
Policy ID31
Branch ID1111
Kpi ID2100-2081
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)0
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด50
หน่วยงานสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-03-31 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลสถานการณ์ฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขนับเป็นภัยที่มีความรุนแรงส่งผลกระทบต่อทั้งมนุษย์ สิ่งแวดล้อม สถานะเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ กรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงและศูนย์กลางของประเทศมีความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งที่จะประสบสถานการณ์ฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขด้านโรคติดต่ออันมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและอาจเกิดการระบาดของโรคแพร่ออกไปในวงกว้าง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยภาพรวม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ เริ่มพบการระบาดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 และมีการแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา โดยในปี พ.ศ. 2564 พบว่า มีผู้ป่วยสะสม จำนวน 368,685 ราย (อัตราป่วย 6,597.54 ต่อประชากรแสนคน) โดยกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยมากที่สุด ได้แก่ 21 - 30 ปี (10,107.41 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมา 31 - 40 ปี (8,302.97 ต่อประชากรแสนคน) และ 41 - 50 ปี (6,799.97 ต่อประชากรแสนคน) ตามลำดับ พบผู้เสียชีวิตสะสม 6,138 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 1.66 โดยกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยตายมากที่สุดได้แก่ มากกว่า 90 ปี (ร้อยละ 36.47) รองลงมา 81 - 90 ปี (ร้อยละ 24.98) และ 71 - 80 ปี (ร้อยละ 12.86) ในการนี้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน ได้ระดมสรรพกำลังและทรัพยากร
ที่มีอยู่เพื่อใช้ในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) รวมทั้งได้มีการดำเนินการและกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ การแพร่ระบาดมาอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน กระบวนการถอดบทเรียนจากการดำเนินการ ที่ผ่านมาจะเป็นขั้นตอนสำคัญในการพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจและค้นหาข้อผิดพลาดสำคัญจากการดำเนินการ และนำไปสู่การกำหนดแนวทางการรับมือกับวิกฤตสาธารณะในอนาคตต่อไป
กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานซึ่งกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงการศึกษาวิจัยเพื่อถอดบทเรียนการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร เพื่อรวบรวมข้อมูล ศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินการ และพัฒนาข้อเสนอแนะ รวมทั้งแผนรองรับวิกฤตด้านสาธารณสุขที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
วัตถุประสงค์2.1 เพื่อศึกษาวิจัย ถอดบทเรียนการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
2.2 เพื่อระดมความคิดเห็นในการพัฒนาข้อเสนอแนะและกำหนดแผนการรับมือกับวิกฤตด้านสาธารณสุข ภายใต้บริบทการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
เป้าหมาย3.1 รายงานผลการศึกษาทบทวน มาตรการ แนวทางการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
3.2 จัดกิจกรรมระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะและกำหนดแผนการรับมือกับวิกฤตด้านสาธารณสุขและประเมินความเสี่ยงให้ครอบคลุมกับปัจจัยเสี่ยงในปัจจุบันอย่างมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 232 คน ข้าราชการนอกสังกัดกรุงเทพมหานครและภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพของกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 คน วิทยากร 5 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 13 คน รวม 300 คน
ผู้รับผิดชอบกลุ่มงานยุทธศาสตร์สาธารณสุข
ผู้ตรวจประเมินกลุ่มงานยุทธศาสตร์สาธารณสุข โทร.1515
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ50 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 150
ผลงานเดือนที่ 150
ผลงานเดือนที่ 250
ผลงานเดือนที่ 350
ผลงานเดือนที่ 150
ผลงานเดือนที่ 450
ผลงานเดือนที่ 550
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2023-01-20 50.0 1 ไม่มี 20/01/66 : เก็บข้อมูลจากการทบทวนเอกสารรายงาน การประชุม ศบค.กทม. (ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 - สิงหาคม 2565) วรรณกรรม ข้อมูลสารสนเทศที่เผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ กฎหมาย และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประมวลผลการดำเนินงานของหน่วยงาน ในสังกัดกรุงเทพมหานครภายใต้สถานการณ์ วิกฤตในแต่ละช่วงเวลา โดยเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในระดับประเทศ เพื่อให้ทราบถึงประเด็นที่เป็นปัญหา อุปสรรค รวมถึงปัจจัยที่เป็นผลต่อความสำเร็จในการ แก้ไขสถานการณ์