รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 11000000-7326

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 0

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ11000000-7326
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการปรับปรุงสถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจรทางน้ำ บริเวณสถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ (สคน)
Policy ID31
Branch ID1109
Kpi ID1100-6522
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)451,000,000
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด0
หน่วยงานสำนักการระบายน้ำ
Start Date2022-09-01 00:00:00.000
Finish Date2024-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผล รัฐบาลมีนโยบายให้กรุงเทพมหานครปรับปรุงประตูเรือสัญจรแนวคลองชักพระ คลองมอญ และคลองบางกอกใหญ่ เพื่อพัฒนาการคมนาคมทางน้ำและส่งเสริมการท่องเที่ยว เตรียมรองรับปริมาณน้ำหลากจากนอกแนวป้องกันของกรุงเทพมหานครให้ระบายผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครออกสู่ทะเล ในกรณีที่มีปัญหา น้ำหลากปริมาณมากจากพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพมหานคร และได้ตั้งเป้าหมายไว้ให้สามารถรับปริมาณ น้ำหลากผ่านเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรีได้ประมาณ 75 ลบ.ม./วินาที
สถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจร เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการเร่งระบายน้ำ ควบคุมระดับน้ำ และการสัญจรทางน้ำ ปัจจุบันการเดินทางโดยเรือโดยสารยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมสำนักการระบายน้ำจึงได้สำรวจคลองต่าง ๆ เพื่อจักได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สามารถใช้งาน ในการควบคุมระดับน้ำและการเดินเรือเพื่อขนส่งมวลชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำไปพร้อมกัน ตามแผนพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวย่านคลองบางหลวง และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ดังนี้
คลองบางกอกใหญ่ สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรี คลองบางกอกใหญ่กลายมาเป็นชุมชนของข้าหลวง จึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "คลองบางข้าหลวง" หรือ "คลองบางหลวง" รัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร กำหนดให้คลองบางกอกใหญ่เป็นคลองสำคัญที่ต้องอนุรักษ์ไว้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 คลองแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์ ไปสิ้นสุดที่คลองมอญ ตรงข้ามปากคลองชักพระ มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร ถือเป็นเส้นทางสัญจรและระบายน้ำ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญ อีกทั้งมีศาสนสถานตั้งอยู่อย่างหนาแน่นทั้งสองฝั่งทั้งวัดและมัสยิด
สถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ มีเครื่องสูบน้ำที่ใช้งานประจำ 18 เครื่อง ขนาดกำลังสูบรวม
54 ลบ.ม./วินาที และเครื่องสูบน้ำชั่วคราว ขนาดกำลังสูบ 3 ลบ.ม./วินาที 1 เครื่อง เครื่องสูบน้ำและตู้ควบคุมกำลังไฟฟ้าหลักมีสภาพชำรุดทรุดโทรม เนื่องจากมีอายุการใช้งานมานานเกิน 20 ปี (ติดตั้ง พ.ศ. 2538) ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงพอต่อการสูบเร่งการระบายน้ำในเวลาที่มีฝนตกหนัก หรือฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้สูบน้ำออกจากพื้นที่ได้ช้าและใช้เวลานาน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่
ด้านทิศเหนือของสถานีสูบน้ำ เป็นพื้นที่ที่ใช้ติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงสูง อาคารที่ทำการเจ้าหน้าที่ ห้องควบคุมระบบเครื่องจักรกลด้วยระบบไฟฟ้าแรงต่ำทั้งหมด อยู่ในพื้นที่ของวัดกัลยาณมิตรที่กรุงเทพมหานครทำสัญญาเช่าใช้พื้นที่กับวัดกัลยาณมิตร พระอารามหลวงและมีพระวิหารหลวง ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 และปัจจุบันทางวัดมีความประสงค์ที่จะขอคืนพื้นที่เพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว
ด้านทิศใต้ของสถานีสูบน้ำติดกับพื้นที่วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ที่สร้างในสมัยอยุธยา
ทั้งนี้ วัดทั้งสองแห่งเป็นที่นิยมเข้าเยี่ยมชมของนักท่องเที่ยว ประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถใช้เส้นทางสะพานทางเดินข้ามคลองของสถานีสูบน้ำคลองบางใหญ่ไปมาระหว่างวัดทั้งสองแห่งตามเวลาที่วัด และสำนักการระบายน้ำกำหนด เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าที่ดินตามเหตุข้างต้นกรุงเทพมหานครจำเป็นจะต้องดำเนินการรื้อย้ายระบบไฟฟ้าแรงสูง อาคารที่ทำการเจ้าหน้าที่ ห้องควบคุมระบบเครื่องจักรกลด้วยระบบไฟฟ้าแรงต่ำทั้งหมดตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดกัลยาณมิตรไปตั้งที่แห่งใหม่ให้เหมาะสม พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพสถานีสูบน้ำปรับปรุงประตูเรือสัญจรและสะพานทางเดินที่เชื่อมต่อไปยังวัดทั้งสองแห่งให้เหมาะสม สะดวก และสวยงาม
ประตูเรือสัญจรทางน้ำ ปัจจุบันมีประตูเรือสัญจร 1 ช่อง เป็นช่องทางเดินเรือหางยาวและเรือขนาดเล็กใช้ผ่านช่องทาง เมื่อต้องเปิด-ปิดบานที่ระดับน้ำควบคุม เพื่อให้เรือผ่าน ต้องใช้เวลานาน ประมาณ 25-30 นาที/เที่ยว เที่ยวละ 10-15 ลำ เส้นทางสองฝั่งคลองบางกอกใหญ่ไปสิ้นสุดปากคลองบางกอกน้อยผ่านจุดท่องเที่ยวที่สำคัญ อาทิ ท่าเรือวังหลัง วัดอรุณราชวราราม สถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ท่าเรือตลาดพลู วัดปากน้ำภาษีเจริญ วัดประดู่ฉิมพลี วัดนวลนรดิศ ตลาดน้ำคลองบางหลวง คลองบางจาก บ้านศิลปิน วัดคูหาสวรรค์ ตลาดน้ำตลิ่งชัน สถานีสูบน้ำคลองชักพระ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเรือราชพิธี เป็นต้น ด้วยทางน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่มีร่องน้ำตื้นและมีประตูเรือสัญจรเพียง 1 ช่องจึงไม่สามารถรองรับเรือท่องเที่ยวหรือตอบสนองต่อความต้องการใช้บริการทางเรือของประชาชนให้ผ่านช่องทางได้อย่างรวดเร็วและเพียงพอต่อจำนวนเรือที่เพิ่มมากขึ้น จากการเจริญเติบโตของเมืองทำให้เกิดปัญหาการจราจรทางน้ำดังกล่าวข้างต้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
สำนักงานระบบควบคุมน้ำ สำนักการระบายน้ำ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินโครงการ ปรับปรุงสถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจรทางน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำ เพื่อการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเรือสัญจร และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ
วัตถุประสงค์ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งธนบุรี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่สองฝั่งคลอง ควบคุมระดับน้ำของคลองซอยที่เชื่อมต่อ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองบางกอกใหญ่เพื่อเตรียมรองรับปริมาณน้ำหลากจากนอกแนวป้องกันให้ระบายน้ำผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครระบายออกสู่ทะเล อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเรือสัญจร ส่งเสริมและสนับสนุนระบบการเดินทาง ล้อ ราง เรือ เพิ่มศักยภาพเชิงพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในและชั้นกลางให้สอดคล้องกับระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบให้สวยงาม โดย
2.1 ปรับปรุงสถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ ขนาดกำลังสูบรวม 63 ลบ.ม./วินาที จำนวน 1 แห่ง
2.2 ก่อสร้างประตูเรือสัญจร จำนวน 1 แห่ง
2.3 ก่อสร้างทางลำเลียง จำนวน 1 แห่ง
2.4 ก่อสร้างอาคารที่พักเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 แห่ง
2.5 ปรับปรุงภูมิทัศน์ จำนวน 1 แห่ง
เป้าหมาย ปรับปรุงสถานีสูบน้ำและประตูเรือสัญจรทางน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ ณ สถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ แขวงวัดกัลยา เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ผู้รับผิดชอบสำนักงานระบบควบคุมน้ำ
ผู้ตรวจประเมินนายปวริศ ศักดิ์พัฒนพงศ์
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ0 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 20
ผลงานเดือนที่ 30
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 40
ผลงานเดือนที่ 50
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2023-02-23 0.0 5 ไม่มี 23/02/2566 :
2023-03-27 0.0 5 - 27/03/2566 :
2023-04-25 0.0 5 - 25/04/2566 :