รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 11000000-7209

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 10

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ11000000-7209
ปี2566
ชื่อโครงการงานปรับปรุงลานผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียหนองแขม (สจน.)
Policy ID32
Branch ID(ไม่ได้ตั้ง)
Kpi ID1100-6539
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)0
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด10
หน่วยงานสำนักการระบายน้ำ
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้เปิดเดินระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสียชุมชนในกรุงเทพมหานครแล้ว จำนวน 8 แห่ง สามารถรองรับน้ำเสียได้ 1,112,000 ลบ.ม./วัน โดยใช้กระบวนการบำบัดทางชีวภาพซึ่งก่อให้เกิดตะกอนจุลินทรีย์ส่วนเกินเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ตะกอนน้ำเสียดังกล่าวผ่านกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ (Anaerobic Digestion System) ณ โรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขม เพื่อปรับเสถียร โดยมีปริมาณตะกอนน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดเกิดขึ้นเฉลี่ยราว 10,000 - 20,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี จากการวิเคราะห์คุณสมบัติของตะกอนเหล่านี้ มีปริมาณธาตุอาหารหลักที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) อยู่ปริมาณหนึ่ง ดังนั้น สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ จึงได้เริ่มทดลองนำตะกอนที่ผ่านการหมักแล้วไปผลิตเป็นปุ๋ยหมักโดยหมักรวมกับเศษวัชพืช และใช้วิธีการหมักแบบกองแถว (Windrow method) ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2548 เป็นต้นมา ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียดังกล่าวมีการแจกจ่ายให้กับหน่วยงานภายในของกรุงเทพมหานครเป็นหลัก โดยใช้บำรุงดินและใช้กับพืชที่ไม่ใช้เพื่อการบริโภค ซึ่งมีปริมาณการขอความอนุเคราะห์ปุ๋ยหมักจากหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันแจกจ่ายปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียมากกว่า 10,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี สามารถประหยัดงบประมาณในการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ได้กว่า 20 ล้านบาท (เทียบกับราคาปุ๋ยอินทรีย์ที่กิโลกรัมละ 2 บาท)
โดยปกติกระบวนการหมักปุ๋ยแบบกองแถว เป็นกระบวนการที่ประหยัดงบประมาณ แต่ใช้พื้นที่ในการดำเนินการค่อนข้างมาก เพราะต้องการการย่อยสลายโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ และการระบายอากาศจากลมธรรมชาติ ต้องมีพื้นที่ในการผสมตะกอนน้ำเสียกับวัสดุหมักให้เข้ากัน ก่อนตั้งกองแถวกว้างประมาณ 1.5 เมตร สูงประมาณ 1.0 เมตร และยาวประมาณ 3.0 เมตร และต้องมีพื้นที่ในการพลิกกลับกองทุก 1 สัปดาห์จนกระบวนการหมักเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งใช้เวลาในฤดูร้อนประมาณ 45 วัน และ 60 วันในฤดูฝน อย่างไรก็ตาม การผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียโดยวิธีการดังกล่าว ยังประสบปัญหาการผลิตในช่วงฤดูฝน เนื่องจากสภาพพื้นที่ปัจจุบันไม่มีโรงเรือนและหลังคาสำหรับจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์และปุ๋ยหมักที่ผ่านกระบวนการหมักสมบูรณ์แล้ว อีกทั้งมีการขอคืนพื้นที่จากสำนักสิ่งแวดล้อมซึ่งเดิมสำนักการระบายน้ำมีการใช้พื้นที่ในการผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอน น้ำเสียราว 14 ไร่ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 4 ไร่ และพื้นที่จำนวน 2.4 จากทั้งหมด 4 ไร่เป็นดินมักเกิดน้ำท่วมขังบ่อยครั้ง เครื่องจักรขนาดเบาไม่สามารถเข้าไปใช้งานในพื้นที่ได้ ดังนั้นจึงมีพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์เพื่อการผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียเพียง 2.4 ไร่ ทำให้มีพื้นที่ในการเก็บตะกอนน้ำเสียที่รอผลิต พื้นที่ในการผลิตและจัดเก็บปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์แล้วน้อยลงมาก และส่งผลให้มีปริมาณตะกอนที่คงค้างอยู่ที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขมและจตุจักร เนื่องจากปัญหาการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้ไม่เต็มที่
ดังนั้น สำนักการระบายน้ำ จึงเสนอให้มีงานปรับปรุงลานผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสีย ให้สามารถผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียได้เต็มประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ในช่วงฤดูฝน สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ได้เต็มประสิทธิภาพ ลดปัญหาเครื่องจักรเข้าพื้นที่ไม่ได้ และสามารถผลิตปุ๋ยในช่วงฤดูฝนได้โดยใช้ระยะเวลาน้อยกว่าเดิม อีกทั้งมีพื้นที่ในการเก็บปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียที่หมักสมบูรณ์แล้วพร้อมแจกจ่ายอีกด้วย
วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงลานผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสีย ให้สามารถผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียได้เต็มประสิทธิภาพ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในฤดูฝน และมีพื้นที่เก็บอุปกรณ์ เครื่องจักร และปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสียที่หมักสมบูรณ์แล้วก่อนแจกจ่ายให้กับหน่วยงานที่ขอความอนุเคราะห์ต่อไป
เป้าหมายเพื่อปรับปรุงลานผลิตปุ๋ยหมักจากตะกอนน้ำเสีย ประกอบด้วย ป้ายอาคาร อาคารสำนักงาน ลานจอดรถ โครงสร้างพื้นที่ในการผลิตปุ๋ย รั้วด้านหน้า และโรงเก็บวัสดุอุปกรณ์
ผู้รับผิดชอบนายประธาน บรรจงปรุ หัวหน้ากลุ่มงานโครงการและจัดการตะกอน โทร.2324
ผู้ตรวจประเมินคุณณัฐธิดา 1515
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ10 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 110
ผลงานเดือนที่ 110
ผลงานเดือนที่ 210
ผลงานเดือนที่ 310
ผลงานเดือนที่ 110
ผลงานเดือนที่ 410
ผลงานเดือนที่ 510
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-29 10.0 1 ไม่มี 29/12/2565 : อยู่ระหว่างดำเนินการ
2023-01-30 10.0 5 ไม่มี 30/01/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
2023-02-27 10.0 5 ไม่มี 27/02/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
2023-03-29 10.0 5 ไม่มี 29/03/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
2023-04-21 10.0 5 ไม่มี 21/04/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ