รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 08000000-7082

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 21

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ08000000-7082
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service
Policy ID31
Branch ID1111
Kpi ID0800-6741
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)190,000
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)10,625
คืบหน้าล่าสุด21
หน่วยงานสำนักอนามัย
Start Date2023-10-01 00:00:00.000
Finish Date2024-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผลกรุงเทพมหานครโดยสำนักอนามัย และสำนักงานเขต ได้ดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย และให้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีสถานประกอบการอาหารที่สามารถพัฒนาจนผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี (ระดับ 3 ดาว) เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง และนับจากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีสถานประกอบการอาหารสามารถพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ร้อยละ 100 ดังนั้น กรุงเทพมหานครจึงได้มีแนวคิดในการพัฒนายกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหาร โดยให้ความสำคัญในการจัดการสถานประกอบการอาหาร ให้มีการเตรียม ประกอบปรุงอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่โดยปกติสุขของประชาชน ไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญจากการประกอบกิจการอาหาร เช่น กลิ่น เสียง ความร้อน การระบายน้ำเสีย หรือฝุ่นละออง กอรปกับนโยบายของกรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมเพื่อการลดและคัดแยกมูลฝอยอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศเจตนารมณ์ “กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรชั้นนำในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นลดการใช้พลาสติกและโฟม โดยให้หน่วยงานกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ปลอดขยะพลาสติกและโฟม” สำนักอนามัยจึงได้มีการประชุมปรับปรุง พัฒนาเกณฑ์การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และกำหนดองค์ประกอบของเกณฑ์การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสุขลักษณะทางกายภาพ อาคารสถานที่ (Place) 2) ด้านคุณภาพอาหาร (Food) 3) ด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหาร (Food Handler) และ 4) ด้านการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Service) โดยกำหนดให้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร มี 3 ระดับ คือ ระดับดี/เกรด C (ระดับ ๓ ดาว) ระดับดีมาก /เกรด B (ระดับ ๔ ดาว/Green Service) และระดับดีเลิศ/เกรด A (ระดับ ๕ ดาว/Green Service Plus) ซึ่งกรุงเทพมหานครได้เริ่มดำเนินการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครและมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยผลดำเนินการพบว่ามีสถานประกอบการสามารถพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Service) จำนวน ๘,๖๘๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๐๖ ของจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมด (๒๐,๑๖๖ ราย) ทั้งนี้ พบว่าสถานประกอบการอาหารประเภท ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท สามารถพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Service) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๔๐ และ ๖๕.๑๘ ตามลำดับ ส่วนสถานประกอบการอาหารประเภท ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี และตลาด ยังมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Service) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๔๔ ร้อยละ ๑๒.๒๗ และร้อยละ ๔.๓๖ ตามลำดับ ดังนั้นเพื่อเป็นการขับเคลื่อนและผลักดันการดำเนินงานให้สถานประกอบการอาหารมีการผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) จึงได้จัดทำโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service เพื่อคุ้มครองสุขภาพประชาชน และลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากสถานประกอบกิจการอาหาร อีกทั้งเป็นการเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร อันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
วัตถุประสงค์๑) เพื่อพัฒนา ยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหาร
๒) เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการและประชาชนในการดำเนินงานอาหารปลอดภัยและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
๓) เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย

เป้าหมายส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เข้าร่วมโครงการ (อย่างน้อยร้อยละ ๑๕ ของจำนวนสถานประกอบการอาหารประเภทตลาด ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีทั้งหมด) มีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร้อยละ ๙๐
ผู้รับผิดชอบกองสุขาภิบาลอาหาร
ผู้ตรวจประเมินกยล.สยป.1547
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ21 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 121
ผลงานเดือนที่ 121
ผลงานเดือนที่ 221
ผลงานเดือนที่ 321
ผลงานเดือนที่ 121
ผลงานเดือนที่ 421
ผลงานเดือนที่ 521
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2023-01-19 5.0 1 ไม่มี 19/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ
2023-01-31 10.0 1 -ไม่มี-//- 31/01/2566 : โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารอาหารสู่มาตรฐาน Green Service (งบประมาณที่ขอจำนวน 190,000บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 190,000บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 190,000 บาท) 1. แต่งตั้งคณะกรรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service ของ กทม. - อยู่ระหว่างเสนอร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนาม 2. จัดทำคู่มือแนวทางการจัดการสถานประกอบการอาหารเข้าสู่มาตรฐาน Green Service สำหรับผู้ประกอบการอาหาร - กำหนดรายละเอียดและคุณลักษณะของคู่มือฯ เรียบร้อยแล้ว - ได้รับความเห็นชอบในหลักการผลิตคู่มือฯ - ดำเนินการจัดจ้างและประสานบริษัทดำเนินการออกแบบปกคู่มือฯ - ได้รับความเห็นชอบรูปแบบก่อนการผลิตคู่มือฯ จากสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
2023-02-14 11.0 1 -ไม่มี-//- 14/02/2566 : โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารอาหารสู่มาตรฐาน Green Service (งบประมาณที่ขอจำนวน 190,000บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 190,000บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 190,000 บาท) 1. แต่งตั้งคณะกรรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service ของ กทม. - อยู่ระหว่างเสนอร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนาม 2. จัดทำคู่มือแนวทางการจัดการสถานประกอบการอาหารเข้าสู่มาตรฐาน Green Service สำหรับผู้ประกอบการอาหาร - กำหนดรายละเอียดและคุณลักษณะของคู่มือฯ เรียบร้อยแล้ว - ได้รับความเห็นชอบในหลักการผลิตคู่มือฯ - ดำเนินการจัดจ้างและประสานบริษัทดำเนินการออกแบบปกคู่มือฯ - ได้รับความเห็นชอบรูปแบบก่อนการผลิตคู่มือฯ จากสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข -//-
2023-03-15 16.0 1 -ไม่มี-//- 15/03/2566 : โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารอาหารสู่มาตรฐาน Green Service (งบประมาณที่ขอจำนวน 190,000บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 190,000บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 190,000 บาท) 1. ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service ของ กทม. เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 2. จัดประชุมคณะกรรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service - อยู่ระหว่างวางแผนการจัดประชุมครั้งที่ 1 3. จัดทำคู่มือแนวทางการจัดการสถานประกอบการอาหารเข้าสู่มาตรฐาน Green Service สำหรับผู้ประกอบการอาหาร - กำหนดรายละเอียดและคุณลักษณะของคู่มือฯ เรียบร้อยแล้ว - ได้รับความเห็นชอบในหลักการผลิตคู่มือฯ - ดำเนินการจัดจ้างและประสานบริษัทดำเนินการออกแบบปกคู่มือฯ - ได้รับความเห็นชอบรูปแบบก่อนการผลิตคู่มือฯ จากสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
2023-04-14 17.0 1 เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการและเป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณ กองสุขาภิบาลอาหารจึงขออนุมัติปรับรายละเอียดแผนปฏิบัติการโครงการฯ (ระยะเวลาดำเนินการ) ตามบันทึกที่ กท 0714/298 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2566 ซึ่งได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 14/04/2566 : โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารอาหารสู่มาตรฐาน Green Service (งบประมาณที่ขอจำนวน 190,000บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 190,000บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 190,000 บาท) 1. ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service ของ กทม. เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 2. จัดประชุมคณะกรรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service - อยู่ระหว่างเตรียมการจัดประชุมครั้งที่ 1 โดยกำหนดจัดประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม WebEx Meet ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 3. จัดทำคู่มือแนวทางการจัดการสถานประกอบการอาหารเข้าสู่มาตรฐาน Green Service สำหรับผู้ประกอบการอาหาร - กำหนดรายละเอียดและคุณลักษณะของคู่มือฯ เรียบร้อยแล้ว - ได้รับความเห็นชอบในหลักการผลิตคู่มือฯ - ดำเนินการจัดจ้างและประสานบริษัทดำเนินการออกแบบปกคู่มือฯ - ได้รับความเห็นชอบรูปแบบก่อนการผลิตคู่มือฯ จากสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
2023-05-12 19.0 1 -ไม่มี-//- 12/05/2566 : โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารอาหารสู่มาตรฐาน Green Service (งบประมาณที่ขอจำนวน 190,000บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 190,000บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 190,000 บาท) 1. ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service ของ กทม. เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 2. จัดประชุมคณะกรรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาหารสู่มาตรฐาน Green Service - อยู่ระหว่างเตรียมการจัดประชุมครั้งที่ 1 โดยกำหนดจัดประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม WebEx Meet ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 3. จัดทำคู่มือแนวทางการจัดการสถานประกอบการอาหารเข้าสู่มาตรฐาน Green Service สำหรับผู้ประกอบการอาหาร - กำหนดรายละเอียดและคุณลักษณะของคู่มือฯ เรียบร้อยแล้ว - ได้รับความเห็นชอบในหลักการผลิตคู่มือฯ - ดำเนินการจัดจ้างและประสานบริษัทดำเนินการออกแบบปกคู่มือฯ - ได้รับความเห็นชอบรูปแบบก่อนการผลิตคู่มือฯ จากสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข