รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 07000000-7231

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 30

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ07000000-7231
ปี2566
ชื่อโครงการศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
Policy ID31
Branch ID1111
Kpi ID0700-910
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)2,251,400
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด30
หน่วยงานสำนักการแพทย์
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผล ในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เข้ารับบริการด้วยอาการในระบบทางเดินอาหาร ด้วยกลุ่มอาการที่หลากหลาย ได้แก่อาการจุกแน่นลิ้นปี่ กลืนลำบาก อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรังเป็นต้น ซึ่งในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความจำเป็นต้องการได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (Esophagogastroduodenoscopy) และการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) นอกจากนี้การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ยังมีความสำคัญในการตรวจเพื่อคัดกรอง (Screening) โรคมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนัก เนื่องจากโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นสาเหตุการตายของประชากรไทยในอันดับต้น การทำการตรวจคัดกรอง สามารถช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งลําไส้ใหญ่ได้ จึงมีการแนะนําให้ทำการตรวจด้วยวิธี colonoscopy เมื่ออายุ 50 ปี ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปกติและหลังจากนั้นทุก 10 ปี ส่วนในผู้ป่วยที่มีอัตราเสี่ยงสูงควรได้รับการตรวจเร็วขึ้น และควรตรวจทุก 1–5 ปี
โรงพยาบาลสิรินธร ได้เปิดให้บริการส่องกล้องทางเดินอาหารตั้งแต่ปี 2558 โดยดำเนินการในพื้นที่ของห้องผ่าตัดและทีมพยาบาลจากห้องผ่าตัด จากสถิติการรับบริการผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารที่มารับการบริการที่โรงพยาบาลสิรินธรทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นในทุกปี ข้อมูลในปีงบประมาณ 2561-2563 มีจำนวนผู้ป่วยเข้ารับบริการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน 259 ราย, 701 ราย และ 751 ราย ตามลำดับ และในส่วนของการส่องกล้องทางเดินอาหารลำไส้ใหญ่ 141 ราย, 207 ราย และ 252 ราย ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มจำนวนผู้รับบริการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
จากการขยายศักยภาพของโรงพยาบาลสิรินธรเป็นระดับตติยภูมิ เพื่อรองรับผู้ป่วยในจำนวน 400 เตียง มีการพัฒนาเป็นสถาบันร่วมผลิตบัณฑิตแพทย์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ป่วยมาเข้ารับบริการจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงโรงพยาบาลสิรินธรยังได้รับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลข้างเคียงที่ยังไม่มีแพทย์ระบบทางเดินอาหาร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้มีศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหารที่ชัดเจนเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร รวมถึงการให้บริการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อการป้องกันการเป็นมะเร็งในอนาคต ซึ่งการดูแลที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน ย่อมจะส่งผลให้มีผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารไม่ว่าจะเป็นภาวะเลือดออกจากทางเดินอาหาร โรคกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่ต้องมารับบริการที่ห้องฉุกเฉินและนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลดลง และผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์
เป้าหมาย(ไม่ได้ตั้ง)
ผู้รับผิดชอบนายธรรม วิทัยวัฒน์ โทร 6902
ผู้ตรวจประเมินกลย.สยป. โทร 1547
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ30 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 130
ผลงานเดือนที่ 130
ผลงานเดือนที่ 230
ผลงานเดือนที่ 330
ผลงานเดือนที่ 130
ผลงานเดือนที่ 430
ผลงานเดือนที่ 530
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-29 10.0 1 ไม่มี 29/12/2565 : เดินสำรวจ ณ บริเวณห้องตรวจผู้ป่วยนอกอายุรกรรมชั้น 1, ห้องตรวจผู้ป่วยนอกอายุรกรรมชั้น 2, ห้องผ่าตัดชั้น 3 อาคารบริการ โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์
2023-01-20 10.0 1 ไม่มี 20/01/2566 : อยู่ระหว่างการเขียนโครงการเพื่อเสนอผู้บริหาร
2023-02-21 10.0 1 ไม่มี 21/02/2566 : จัดหาบุคลากรที่จะมาดำเนินการเปิดห้องส่องกล้องทางเดินอาหาร ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้และธุรการ
2023-03-22 20.0 1 ไม่มี 22/03/2566 : ปรับปรุงสถานที่ห้องผ่าตัด ชั้น 3 อาคารบริการ เพื่อรองรับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
2023-04-20 30.0 1 ไม่มี 20/04/2566 : ได้นำเสนอการจัดซื้อเตียงห้องผ่าตัดส่องกล้องในงบเพิ่มเติมปี 2566 รอการอนุมัติงบเพิ่มเติม
2023-05-19 30.0 1 ไม่มี 19/05/2566 : ได้นำเสนอการจัดซื้อเตียงห้องผ่าตัดส่องกล้องในงบเพิ่มเติมปี 2566 รอการอนุมัติงบเพิ่มเติม