รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 07000000-7193

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 30

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ07000000-7193
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการรูปแบบการดูแลสุขภาพระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลันของผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่ต้องรับการฟื้นฟูในกรุงเทพมหานคร (Intermediate care)
Policy ID31
Branch ID1111
Kpi ID0700-891
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)848,000
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด30
หน่วยงานสำนักการแพทย์
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผล สถานการณ์สังคมสูงอายุในปัจจุบัน เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร สถานภาพ การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (Chronic Illness) ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และสถานการณ์ด้านข้อจำกัดของจำนวนเตียงที่ไม่เพียงพอในโรงพยาบาล ทำให้ระบบบริการสุขภาพจำ เป็นต้องปรับเปลี่ยน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง และลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล ในการรักษาพยาบาล โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ ลดความแออัดและลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น และขับเคลื่อนบูรณาการระหว่างบริการสุขภาพ และบริการสังคมด้วยกัน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนผลักดันให้ระบบบริการสุขภาพเกิดความจำเป็นและต้องการรูปแบบบริการระยะกลางที่มีคุณค่าต่อระบบ สถานบริการดูแลสุขภาพระยะกลาง แบ่งได้เป็น 2 ระดับ ระดับแรกคือโรงพยาบาล (Hospital - based Intermediate Care) สำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นและความต้องการการดูแลรักษาต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีบุคลากรผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ ด้านสุขภาพเข้าร่วมให้บริการช่วยเหลือดูแล และระดับที่สองคือ ชุมชน (Community - based Intermediate Care) สำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นและความต้องการการดูแลฟื้นฟูสุขภาพต่อเนื่อง
โดยจากสถิติผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาทั้งระบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40 ซึ่งมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลโดยประมาณ 7-14 วัน เมื่อพ้นระยะเฉียบพลันอาจพบปัญหาบางประการ เกิดภาวะการกำเริบของโรค (Acute exacerbation) ภาวะแทรกซ้อน การดูแลฟื้นฟูไม่เพียงพอ และค่าใช้จ่ายในการดูแลที่สูงขึ้น หรือยังไม่พร้อมกลับไปรับการดูแลต่อที่บ้าน เนื่องจากยังมีความบกพร่องที่ต้องได้รับการดูแลโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้าน สุขภาพที่มีความสามารถ ด้วยวิธีการและเครื่องมือซึ่งไม่สามารถจัดหาไว้ที่บ้านได้ และปัญหาสำคัญคือขาดผู้ดูแล หรือผู้ดูแลที่บ้านยังไม่พร้อมให้การดูแลต่อเนื่อง
ดังนั้น โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานครจึงได้จัดโครงการรูปแบบการดูแลสุขภาพระยะกลางของผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ต้องรับการฟื้นฟู ในกรุงเทพมหานครเพื่อให้ผู้ป่วยสูงอายุได้รับการดูแลต่อเนื่องหลังจากให้การรักษาพยาบาลจนกระทั่งพ้นระยะเฉียบพลัน ซึ่งเรียกโดยรวมว่าPost-acute Care ได้อย่างมีคุณภาพ ได้รับการดูแลฟื้นฟูอย่างเหมาะสมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อลดภาวะบกพร่องการทำกิจวัตรประจำวัน ลดภาวะพึ่งพิงและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุระยะยาว
วัตถุประสงค์1. เพื่อให้เกิดรูปแบบการดูแลสุขภาพระยะกลางของผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ต้องรับการฟื้นฟูในกรุงเทพมหานคร กลุ่มผู้ป่วยที่มีความจำเป็น อาทิ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บทางไขสันหลัง และ ผู้สูงอายุที่มี ADL ลดลง หรือมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
2. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ที่อาจนำไปสู่ความพิการและพัฒนาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยให้ดีขึ้น จนผู้ป่วยส่วนหนึ่งสามารถช่วยเหลือตนเอง กลับมาทำงาน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้
3. เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บทางไขสันหลัง และผู้สูงอายุที่มี ADL ลดลง กระจายสู่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ระดับปฐมภูมิ และชุมชนของกรุงเทพมหานคร ซึ่งนับเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่
เป้าหมาย1. กรุงเทพมหานครมีรูปแบบการดูแลสุขภาพระยะกลางของผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ต้องรับ การฟื้นฟู อย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลจนถึงชุมชน
2. โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ลดความแออัด สามารถให้บริการให้กลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินได้เพิ่มขึ้น
3. ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่เข้ารับการฟื้นฟู มีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น
4. ลดจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงในอนาคต
ผู้รับผิดชอบโรงพยาบาลราชพิพัฒน์
ผู้ตรวจประเมินกยล. สยป. โทร 1547
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ30 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 130
ผลงานเดือนที่ 130
ผลงานเดือนที่ 230
ผลงานเดือนที่ 330
ผลงานเดือนที่ 130
ผลงานเดือนที่ 430
ผลงานเดือนที่ 530
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-29 6.0 1 ไม่มี ศึกษาดำเนินการเขียนโครงการ
2023-01-26 10.0 1 ไม่มี -ติดตามความก้าวหน้าในการซื้ออุปกรณ์เครื่องมือเพื่อการฟื้นฟู -ดำเนินการปรับปรุงด้านสถานที่บางส่วน โดยปรับอาคารในบริเวณพื้นที่ Modular 2 เป็น Ward IMC2 จำนวน 10 เตียง รวมเป็นทั้งหมด 38 เตียง
2023-02-21 20.0 1 ไม่มี - การจัดซื้ออุปกรณ์อยู่ระหว่างการเสนอกับบริษัทตามงบประมานในการจัดซื้อ - OPD IMC มีแพทย์เวชกรรมฟื้นฟูลงตรวจเพิ่มทุกวันพฤหัสบดี เวลา 8.00-12.00 น. - กำหนดจัดโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยระยะกลางเขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2566 โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง จำนวน 100 คน ณ ห้องประชุมพระเทพประสิทธิมนต์ 71 ชั้น 9 อาคารภูมิพิพัฒน์ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
2023-03-22 22.0 1 ไม่มี - ติดตามความก้าวหน้าในการซื้ออุปกรณ์เครื่องมือเพื่อการฟื้นฟู - อยู่ระหว่างดำเนินการอบรมโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยระยะกลางเขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2566 - ขยายการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกกายภาพบำบัด - ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานระดับโรงพยาบาล ติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค ร่วมกันวางแผนมาตรฐานการบริการผู้ป่วยให้เป็นทิศทางเดียวกัน
2023-04-20 25.0 1 ไม่มี 20/04/2566 : - ติดตามความก้าวหน้าในการซื้ออุปกรณ์เครื่องมือเพื่อการฟื้นฟู อยู่ในขั้นตอนรอเงินงวดในการจัดซื้อ - จัดอบรมโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยระยะกลางเขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 20-22 มีนาคม 2566 - ประชุมทีมขยายการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกกายภาพบำบัด