รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 07000000-7192

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 30

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ07000000-7192
ปี2566
ชื่อโครงการโครงการศูนย์ความเชี่ยวชาญการดูแลผู้สูงอายุครบวงจรอย่างเป็นองค์รวมในกรุงเทพมหานคร
Policy ID31
Branch ID1111
Kpi ID0700-891
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)27,400,000
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด30
หน่วยงานสำนักการแพทย์
Start Date2022-10-01 00:00:00.000
Finish Date2023-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผล สถานการณ์สังคมสูงอายุในปัจจุบัน เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร ซึ่งพบการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (Chronic Illness) เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษา ฟื้นฟู ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ จะทำให้เกิดภาวะพึ่งพิง อันเป็นภาระของสังคม ร่วมกับ สถานการณ์ด้านข้อจำกัดของทรัพยากรและจำนวนเตียงที่ไม่เพียงพอในโรงพยาบาล ทำให้ระบบบริการสุขภาพจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง และลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล ในการรักษาพยาบาล โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ ลดความแออัดและลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมถึงลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น และขับเคลื่อนบูรณาการระหว่างบริการสุขภาพ และบริการสังคมด้วยกัน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนผลักดันให้ระบบบริการสุขภาพเกิดความจำเป็นและต้องการรูปแบบบริการต่อผู้สูงอายุอย่างครบวงจร ตั้งแต่การค้นหาความเสื่อมของ Geriatric syndrome การบำบัดฟื้นฟูทั้งก่อนเกิดโรค และ การฟื้นฟูระยะกลางภายหลังการเจ็บป่วยเฉียบพลัน เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ครอบครัว และสังคม สืบไป
โดยจากสถิติผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาทั้งระบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40 ซึ่งมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลโดยประมาณ 7-14 วัน เมื่อพ้นระยะเฉียบพลันอาจพบปัญหาบางประการ เกิดภาวะการกำเริบของโรค (Acute exacerbation) ภาวะแทรกซ้อน การดูแลฟื้นฟูไม่เพียงพอ และค่าใช้จ่ายในการดูแลที่สูงขึ้น หรือยังไม่พร้อมกลับไปรับการดูแลต่อที่บ้าน เนื่องจากยังมีความบกพร่องที่ต้องได้รับการดูแลโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่มีความสามารถ ด้วยวิธีการและเครื่องมือซึ่งไม่สามารถจัดหาไว้ที่บ้านได้ และปัญหาสำคัญคือขาดผู้ดูแล หรือผู้ดูแลที่บ้านยังไม่พร้อมให้การดูแลต่อเนื่อง
ดังนั้น โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานครจึงได้จัดโครงการศูนย์ความเชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุครบวงจรอย่างเป็นองค์รวมที่ประกอบด้วย รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุตั้งแต่ การคัดกรอง Geriatric syndrome ก่อนเริ่มป่วยหรือแสดงอาการจากตัวโรค, การบำบัดรักษากลุ่มโรคของผู้สูงอายุเฉพาะทางในโรคที่พบบ่อย และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา คือ Dementia, Falling prevention, Sarcopenia prevention, ระบบการฟื้นฟูระยะกลางของผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ต้องรับการฟื้นฟู ในกรุงเทพมหานครเพื่อให้ผู้ป่วยสูงอายุได้รับการดูแลต่อเนื่องหลังจากให้การรักษาพยาบาลจนกระทั่งพ้นระยะเฉียบพลัน ซึ่งเรียกโดยรวมว่าPost-acute Care ได้อย่างมีคุณภาพ ได้รับการดูแลฟื้นฟูอย่างเหมาะสม โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อลดภาวะบกพร่องการทำกิจวัตรประจำวัน ลดภาวะพึ่งพิงและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุระยะยาว
วัตถุประสงค์1. เพื่อให้เกิดรูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครที่เริ่มตั้งแต่การคัดกรองก่อนเกิดโรค การบำบัดฟื้นฟูป้องกันการดำเนินไปสู่ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลฟื้นฟูระยะกลางของผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ต้องรับการฟื้นฟู เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยเฉพาะหลังเข้ารับ การรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล กลุ่มผู้ป่วยที่มีความจำเป็น อาทิ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บทางไขสันหลัง และ ผู้สูงอายุที่มี ADL ลดลง หรือมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
2. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ที่อาจนำไปสู่ความพิการและพัฒนาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยให้ดีขึ้น จนผู้ป่วยส่วนหนึ่งสามารถช่วยเหลือตนเอง กลับมาทำงาน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้
3. เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บทางไขสันหลัง และผู้สูงอายุที่มี ADL ลดลง กระจายสู่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ระดับปฐมภูมิ และชุมชนของกรุงเทพมหานคร ซึ่งนับเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่
เป้าหมาย1. กรุงเทพมหานครมีรูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวม และระบบ การดูแลระยะกลางของผู้ป่วยที่ต้องรับการฟื้นฟู อย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลจนถึงชุมชน
2. โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ลดความแออัด สามารถให้บริการในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินได้เพิ่มขึ้น
3. ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่เข้ารับการฟื้นฟู มีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น
4. ลดจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงในอนาคต
ผู้รับผิดชอบโรงพยาบาลราชพิพัฒน์
ผู้ตรวจประเมินกยล. สยป. โทร 1547
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ30 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 130
ผลงานเดือนที่ 130
ผลงานเดือนที่ 230
ผลงานเดือนที่ 330
ผลงานเดือนที่ 130
ผลงานเดือนที่ 430
ผลงานเดือนที่ 530
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-29 6.0 1 ไม่มี ศึกษาดำเนินการเขียนโครงการ
2023-01-26 10.0 1 ไม่มี -จ้างนักกิจกรรมบำบัดเพิ่มอีก 1 คน เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะฟื้นฟูและผู้ป่วยแบบประคับประคอง -ติดตามความก้าวหน้าในการซื้ออุปกรณ์เครื่องมือเพื่อการฟื้นฟู
2023-02-21 20.0 1 ไม่มี - การจัดซื้ออุปกรณ์อยู่ในช่วงดำเนินการจัดซื้อตามงบประมาน - มีการส่งบุคลากรอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในการดูแลและป้องกันผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก อบรมเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว
2023-03-22 22.0 1 ไม่มี - ติดตามความก้าวหน้าในการซื้ออุปกรณ์เพื่อการฟื้นฟู - จ้างนักกายภาพบำบัดเพิ่มอีก 1 คน เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะฟื้นฟูและผู้ป่วยแบบประคับประคอง - ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานระดับโรงพยาบาล ติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค ร่วมกันวางแผนมาตรฐานการบริการผู้ป่วยให้เป็นทิศทางเดียวกัน
2023-04-20 25.0 1 ไม่มี 20/04/2566 : - ติดตามความก้าวหน้าในการซื้ออุปกรณ์เครื่องมือเพื่อการฟื้นฟู อยู่ในขั้นตอนรอเงินงวดในการจัดซื้อ - ขยายพื้นที่ในการตรวจผู้ป่วยเพิ่มเติมเพื่อรองรับจำนวนผู้มารับบริการที่เพิ่มมากขึ้น - ประชุมคณะกรรมการ ติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค ร่วมกันวางแผนมาตรฐานการบริการผู้ป่วยให้เป็นทิศทางเดียวกัน