รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม: 07000000-7183

คืบหน้าล่าสุด : ร้อยละ 65

ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม พิมพ์ PDF

รหัสโครงการ07000000-7183
ปี2566
ชื่อโครงการศูนย์สมองและหลอดเลือดสมองครบวงจรโรงพยาบาลตากสิน (Taksin Brain and Cerebrovascular Excellent Center)
Policy ID31
Branch ID1111
Kpi ID0700-910
งบฯ ที่ได้รับ (บาท)0
งบฯ ที่ใช้ไป (บาท)0
คืบหน้าล่าสุด65
หน่วยงานสำนักการแพทย์
Start Date2021-10-01 00:00:00.000
Finish Date2026-09-30 00:00:00.000
หลักการและเหตุผล โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease หรือ Stroke) เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อย และมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นสาเหตุการเสียชีวิต และการสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability adjusted life year) ระดับต้นๆ ประมาณร้อยละ 10 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด พบว่า อันดับ 1 ทั้งในเพศชายและเพศหญิง (สมชาย โตวณะบุตร, 2557) ผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองถึง 23,220 ราย ในปี พ.ศ.2560 โดยคิดเป็นอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 35.9/100,000 ประชากร (Social and quality of life database system, 2560) ไม่เพียงมีจำนวนมากขึ้นแต่ยังมีความซับซ้อนของความเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ป่วยต้องสูญเสียรายได้ โดยอาจประมาณการได้ว่า หากผู้ป่วยอายุ 44 ปี มีรายได้ 25,000 บาทต่อเดือน รายได้ที่หายไปจวบจนเกษียณอายุ ประมาณ 4,800,000 บาท รวมมูลค่าทางสังคมที่สูญเสียไป ซึ่งไม่สามารถประเมินค่าได้ ถ้าหากมีความพิการ ผู้ป่วยจะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลเพิ่มขึ้น ซึ่งสวนทางกับรายได้ที่หายไป เป็นภาระของสังคม ส่วนญาติ อาจมีความจำเป็นต้องออกจากงานเพื่อดูแลผู้ป่วย รายจ่ายเพิ่มขึ้นจากเดิม รายได้อาจลดลงหรือเท่าเดิม ด้านจิตใจ ทั้งผู้ป่วยและญาติ มีความเครียดเพิ่มขึ้น ภาพลักษณ์สูญเสียไป คุณภาพชีวิตลดลงซึ่งประเมินค่าไม่ได้ เป็นผู้พิการ นอนติดเตียง มีโรคแทรกซ้อน เป็นปัญหาเรื้อรังของระบบสุขภาพไทย ส่งผลกระทบต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจ หากคิดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉลี่ยต่อปี 2560 – 2562 คือ 78,230.48 บาท 81,020.85 บาท 79,716.38 บาท ตามลำดับ ระยะเวลาวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉลี่ยต่อปี 2560 – 2562 คือ 11.58 วัน 11.40 วัน 10.60 วัน ตามลำดับ (งานสถิติและสารสนเทศ ฝ่ายวิชาการฯ โรงพยาบาลตากสิน, 2560-2562) ทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยและระยะเวลาวันนอนในโรงพยาบาล นับว่าสูง ถ้าหากได้รับการรักษาโดยให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (Recombinant tissue Plasminogen Activator : rt-PA) ได้ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาคนไข้ที่มีปัญหาลิ่มเลือดและไขมันอุดตันในสมอง ภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง มาหลายสิบปี ซึ่งสามารถลดความพิการได้ประมาณ ร้อยละ 14 โดยวัดจากค่าความพิการภายในสามเดือน เทียบกับคนไข้ที่ไม่ได้ยาฉีด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีคนไข้อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีลิ่มเลือดที่แข็งตัวมาก ละลายยาก หรือลิ่มเลือดมีขนาดยาว (มากกว่า 1 เซนติเมตร) ซึ่งจากงานวิจัยสากลปัจจุบันมีโอกาสที่ยาละลายลิ่มเลือดจะละลายได้น้อย ดังนั้นหลังจากเวลา 4.5 ชั่วโมง จนถึง 8 ชั่วโมง คนไข้ที่มีปัญหาอัมพาต เส้นเลือดสมองอุดตันที่ไม่สามารถฉีดยาละลายลิ่มเลือด หรือฉีดยาละลายลิ่มเลือดแล้วไม่ดีขึ้น จึงยังมีโอกาสที่จะรอดชีวิต หรือมีโอกาสที่จะได้รับการรักษาจนความพิการลดลงได้ ด้วยการใช้สายสวนดูดลิ่มเลือดออกจากเส้นเลือด (Mechanical Thrombectomy) ที่สำคัญปัจจุบันความคาดหวังของผู้รับบริการสุขภาพต้องการคุณภาพ ที่ดีและรวดเร็ว เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ได้มีเพียงการใช้ยากลุ่มยาต้านเกล็ดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด หรือการผ่าตัดเช่นเดิม แต่ยังมีเทคโนโลยีการรักษาสมัยใหม่ด้วยการใช้รังสีรักษา เพื่อการจัดการผลลัพธ์ให้เหมาะสมและเกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ส่งผลต่อความคุ้มค่าคุ้มทุนในการดูแลรักษาที่เกิดขึ้น
สำนักการแพทย์ ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการบริการทางการแพทย์ ให้กับประชาชนในกรุงเทพมหานคร มีโรงพยาบาลในสังกัดทั้งหมด 11 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ โรงพยาบาลลาดกระบัง โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน โรงพยาบาลบางนา และโรงพยาบาลคลองสามวา ซึ่งโรงพยาบาลตากสินเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิของสำนักการแพทย์ มีศูนย์สมองและหลอดเลือดสมอง เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ของกรุงเทพมหานคร แห่งเดียวของสำนักการแพทย์ จากความร่วมมือกันระหว่างอายุรแพทย์ระบบประสาทกับประสาทศัลยแพทย์ เป็นแม่ข่ายเครือข่ายที่ 6 ของเขตบริการสุขภาพที่ 13 พบปัญหาดังนี้ จำนวนเตียงที่รองรับผู้ป่วยไม่เพียงพอ ผู้ป่วยหนักมีจำนวนมากขึ้น อุปกรณ์เครื่องมือยังไม่เพียงพอกับผู้ป่วยที่เพิ่มจำนวนขึ้น เครื่องมือที่ทันสมัยเหมาะสมเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นไปพร้อมกับการรักษาที่ก้าวล้ำ เพื่อการดูแลผู้ป่วยที่ครบวงจร ตอบสนองแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปีระยะที่ 2 มหานครปลอดภัย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ ดังนี้ 1) ขอขยายจำนวนเตียงในหน่วยงานหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท (Icu neuro) จาก 8 เตียง เป็น 10 เตียง 2) เปิดหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมประสาท Semi icu neuro 12 เตียง 3) ซื้ออุปกรณ์เครื่องมือห้องผ่าตัดเพื่อให้การรักษาด้วยการใช้สายสวนดูดลิ่มเลือดออกจากเส้นเลือด (Mechanical Thrombectomy) 4) เปิดหอบำบัดผู้ป่วยวิกฤตโรคหลอดเลือดสมอง 12 เตียง และ 5) ขยายจำนวนเตียงหอบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและสมองเสื่อม จาก 12 เตียง เป็น 18 เตียง เพื่อรองรับการส่งต่อผู้ป่วยภายในสำนักการแพทย์ ลูกข่ายเครือข่ายที่ 6 เขตบริการสุขภาพที่ 13 และในกรุงเทพมหานคร
ดังนั้นสำนักการแพทย์ จึงมีแผนพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อรองรับการให้บริการประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ตอบสนองความต้องการ การเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพและครบวงจรของโรงพยาบาล ส่งเสริมให้เกิดการบริการด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของสำนักการแพทย์ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ลดการสูญเสียชีวิต ลดความพิการ ลดภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา ทั้งของผู้ป่วยและญาติ ส่งผลให้ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัว สังคม และประเทศลดลง
วัตถุประสงค์1. เพื่อลดอัตราตาย ลดความพิการ ลดภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
2. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์
3. เพื่อให้การรักษาทางด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร ดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนเข้าถึงโรงพยาบาล ขณะอยู่ในโรงพยาบาล และหลังออกจากโรงพยาบาล ได้อย่างมีมาตรฐานสากล
เป้าหมายศูนย์สมองและหลอดเลือดสมองครบวงจร (หอบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและสมองเสื่อม และหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท) ณ อาคารสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลตากสิน
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
ผู้รับผิดชอบโรงพยาบาลตากสิน
ผู้ตรวจประเมินกลย.สยป. โทร 1547
หมายเหตุ(ไม่ได้ตั้ง)
นโยบาย ผว.
ค่าน้ำหนัก1
เป้าหมายโครงการ100 ร้อยละ
ผลการดำเนินการ65 ร้อยละ
หน่วยนับร้อยละ
อธิบายรายละเอียดความคืบหน้า
เป้าหมาย
ผลงานเดือนที่ 165
ผลงานเดือนที่ 165
ผลงานเดือนที่ 265
ผลงานเดือนที่ 365
ผลงานเดือนที่ 165
ผลงานเดือนที่ 465
ผลงานเดือนที่ 565
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 7
ผลงานเดือนที่ 8
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 6
ผลงานเดือนที่ 9
ผลงานเดือนที่ 10
ผลงานเดือนที่ 11
ผลงานเดือนที่ 12

ประวัติการปรับปรุงข้อมูล

วันที่ เวลา ชื่อผู้ใช้ กระทำ สอดคล้องตามนโยบาย เริ่มต้น สิ้นสุด เป้าหมาย ผลการดำเนินการ หน่วยนับ
ความคืบหน้าล่าสุด
วันที่รายงาน ความคืบหน้า สถานะโครงการ ปัญหาอปสรรค รายละเอียด
2022-12-29 25.0 1 ไม่มี 29/12/2565 : โรงพยาบาลตากสินเปิดให้บริการศูนย์สมองและหลอดเลือดสมอง ณ อาคารสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชั้น 12 โดยมีผลการดำเนินงาน ได้แก่ 1. ดำเนินการประสานเพื่อออกแบบก่อสร้าง ICU stroke, Semi ICU neuro และ Neuro intervention 2. ดำเนินการจัดโครงการ Stroke สัญจร เพื่อให้ความรู้แก่โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ได้แก่ 2.1 เดือนตุลาคม ณ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ 2.2 เดือนพฤศจิกายน ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2.3 เดือนธันวาคม ไม่มีการจัดโครงการ 3. ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ หลักสูตร Neurosurgery MED และ หลักสูตร Neurosurgery ศัลยกรรม ทางระบบ conference ทุกเดือน
2023-01-27 35.0 1 ไม่มี 27/01/2566 : อยู่ระหว่างขั้นอตนออกแบบ และเริ่มดำเนินการจัดซื้อเครื่องอัลตราซาวด์ carotid (เงินนอกงบประมาณ) และดำเนินการจัดโครงการ stroke สัญจร ณ โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 เพื่อถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างโรงพยาบาล
2023-02-24 40.0 1 - 24/02/2566 : ศูนย์สมองและหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน เพิ่มการให้บริการ Mechanical Thrombectomy ให้บริการให้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้สถานที่และบุคลากรร่วมกันกับ ทีม Cath lab ดำเนินการในด้านอุปกรณ์ - เครื่องมือบางส่วน โดยมีสถิติการให้บริการเดือนมกราคม 2566 ดังนี้ 1. จำนวนผู้ป่วย stroke 63 ราย 2.จำนวนผู้ป่วย stroke fast track 48 ราย (แบ่งออกเป็น walk-in 23 ราย refer 19 ราย และในโรงพยาบาล 6 ราย) 3.จำนวนผู้ป่วย Stroke fast track ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 6 ราย 4.จำนวนผู้ป่วยเข้าห้องกระตุ้นประสาทสัมผัส 107 ราย
2023-03-28 50.0 1 ไม่มี ศูนย์สมองและหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน เพิ่มการให้บริการ Mechanical Thrombectomy ให้บริการให้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้สถานที่และบุคลากรร่วมกันกับ ทีม Cath lab ดำเนินการในด้านอุปกรณ์ - เครื่องมือบางส่วน โดยมีสถิติการให้บริการ ดังนี้ 1. เดือนกุมภาพันธ์ 2566 1.1 จำนวนผู้ป่วย stroke 72 ราย 1.2 จำนวนผู้ป่วย stroke fast track 45 ราย (แบ่งออกเป็น walk-in 34 ราย refer 7 ราย และในโรงพยาบาล 4 ราย) 1.3 จำนวนผู้ป่วย Stroke fast track ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 9 ราย 1.4 จำนวนผู้ป่วยเข้าห้องกระตุ้นประสาทสัมผัส 92 ราย 2. เดือนมีนาคม 2566 2.1 จำนวนผู้ป่วย stroke 66 ราย 2.2 จำนวนผู้ป่วย stroke fast track 47 ราย (แบ่งออกเป็น walk-in 33 ราย refer 12 ราย และในโรงพยาบาล 2 ราย) 2.3 จำนวนผู้ป่วย Stroke fast track ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 11 ราย 2.4 จำนวนผู้ป่วยเข้าห้องกระตุ้นประสาทสัมผัส 72 ราย
2023-04-26 60.0 1 ไม่มี 26/04/2566 : ศูนย์สมองและหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน เพิ่มการให้บริการ Mechanical Thrombectomy ให้บริการให้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้สถานที่และบุคลากรร่วมกันกับ ทีม Cath lab ดำเนินการในด้านอุปกรณ์ - เครื่องมือบางส่วน โดยมีสถิติการให้บริการประจำเดือนเมษายน 2566 ดังนี้ 1.จำนวนผู้ป่วย stroke 24 ราย 2. จำนวนผู้ป่วย stroke fast track 34 ราย 3. จำนวนผู้ป่วยที่ทำ Mechanical Thrombectomy 2 ราย 4. จำนวนผู้ป่วย refer 12 ราย 5. จำนวนผู้ป่วย Stroke fast track ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 8 ราย 6. จำนวนผู้ป่วยเข้าห้องกระตุ้นประสาทสัมผัส 50 ราย